ต้นกำเนิดโปสเตอร์ภาพยนตร์

ว่ากันด้วยเรื่องของ “โปสเตอร์” นั้น เรียกได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดนักดูหนังต่างๆ ให้เข้ามาสนใจในเนื้อหาของหนัง ไม่แพ้ตัวอย่างหนังเลยก็ว่าได้ครับ ดังนั้นแล้วการทำโปสเตอร์ที่ดีที่เหมาะสมก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่จะช่วยให้หนังขายดีครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ต้นกำเนิดแสเตอร์ภาพยนตร์” พร้อมกับรู้จักกับหลักการทำโปสเตอร์ที่ดีกันสักหน่อยครับ

โปสเตอร์เป็นอย่างไร?

โปสเตอร์ (poster) คือภาพขนาดใหญ่พิมพ์บนกระดาษ  ออกแบบเพื่อใช้ติดหรือแขวนบนผนังหรือกำแพง โปสเตอร์อาจจะเป็นภาพพิมพ์และ/หรือภาพเขียน หรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้เตะตาผู้ดูและสื่อสารข้อมูล โปสเตอร์อาจจะใช้สอยได้หลายประการ แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการโฆษณางานแสดงศิลปะ, งานดนตรี หรือภาพยนตร์, การโฆษณาชวนเชื่อ, หรือในการสื่อสารที่ต้องการสื่อสารความเชื่อต่อคนกลุ่มใหญ่

หลักการทำโปสเตอร์ให้น่าสนใจ

ความสมดุล การออกแบบโปสเตอร์ที่ดี ต้องไปในทิศทางเดียวกัน การวางตัวอักษร การวางรูป ไม่ใหญ่ ไม่เล็กจนเกินไป  แบ่งเป็นสัดส่วนได้อย่างชัดเจน ต้องมีความสมดุลที่ทำให้คนเห็น หรือคนอ่าน ดูข้อมูลได้ง่าย ลื่นไหล สบายตา

องค์ประกอบสำคัญๆ ครบถ้วน โปสเตอร์ที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ พาดหัว เปรียบเสมือนชื่อโปสเตอร์ พาดหัวรอง คือส่วนขยายของพาดหัว ข้อมูลรายละเอียด คือรายละเอียดของโปสเตอร์ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรและวันเวลาของกิจกรรม ภาพประกอบ คือส่วนตกแต่งให้โปสเตอร์มีความน่าใจมากยิ่งขึ้น ข้อมูลติดต่อ มีไว้สำหรับคนที่สนใจเข้ากิจกรรมสามารถติดต่อผู้ดูแลได้

มีจุดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นการสร้างจุดศูนย์กลางที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าและทำให้ผู้รับสารรับรู้ข้อมูลของเราได้อย่างครบถ้วน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การพาดหัวจะเป็นจุดสำคัญที่ว่านี้ในการออกแบบโปสเตอร์ เปรียบเสมือนหัวกับข้อหลักที่ช่วยให้ผู้ที่เห็นโปสเตอร์รับรู้ได้ทันทีว่าโปสเตอร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

ขนาดของตัวอักษร เป็นสิ่งที่ทำให้จุดเด่นของโปสเตอร์เด่นชัดมากยิ่งขึ้นโดยการใช้ขนาดของตัวอักษรที่ต่างกันเพื่อเรียงลำดับใจความสำคัญของข้อมูล เช่น พาดหัวหลักจะใช้ขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ที่สุดเพื่อเน้นว่าโปสเตอร์นี่มีวัตถุประสงค์อะไร ต่อมาคือพาดหัวรองซึ่งสำคัญรองลงมา จะใช้ตัวอักษรขนาดกลางเพื่อไม่ให้เด่นชัดจนเกินไปโดยพาดหัวรองจะมีหน้าที่ช่วยขยายความของพาดหัวหลัก สุดท้ายก็คือรายละเอียดของข้อมูลที่จะใช้ตัวอักษรขนาดเล็กเนื่องจากมีความยาวมากที่สุดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค้ารับข่าวสารที่ครบถ้วน

โทนสีของโปสเตอร์ การใช้โทนสีในการออกแบบโปสเตอร์ เราต้องคำนึงถึงองค์กรและชนิดของสินค้าของเราว่าภาพลักษณ์ของบริษัทเราเป็นเช่นไร เช่น บริษัทเราเป็นโรงเรียนสอนภาษา โปสเตอร์ของเราก็ควรใช้โทนสีที่เรียบง่ายไม่ฉูดฉาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น ข้อควรระวังก็คือสีของตัวอักษรและสีของพื้นหลังควรใช้สีที่ตรงข้ามกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะสามารถอ่านโปสเตอร์ของเราได้

วิธีการเก็บโปสเตอร์หนังเก่าให้อยู่ไปนานๆ

การเก็บรักษาด้วยระบบสูญญากาศเป็นวิธีหนึ่งที่ควรใช้ในการเก็บโปสเตอร์หนัง เนื่องจากมันทำจากกระดาษซึ่ง หากเราปล่อยทิ้งไว้ภายนอก มันย่อมเสี่ยงต่อการฉีกขาด รอยจับ ความชื้น แมลงกัดแทะ หรือกระทั้งอุบัติเหตุความเผอเรอต่างๆ ก็ทำให้มันเสียหายได้ หากเก็บด้วยระบบสูญญากาศจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ทั้งหมด เพียงเรานำเอาโปสเตอร์หนังมารองด้านหน้าที่มีภาพด้วยกระดาษไขแผ่นเท่าๆ กัน แล้วม้วนเก็บ จะเก็บรวมกันเป็นชุดหลายแผ่นหน่อยก็ได้ นำไปบรรจุในถุงและนำไปเข้า เครื่องแพ็คสูญญากาศ ให้ดูดอากาศออกและซีลปิดให้ เพียงเท่านี้โปสเตอร์หนังก็จะถูกรักษาเอาไว้ให้คงสภาพดีได้อีกนาน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ต้นกำเนิดโปสเตอร์ภาพยนตร์” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นครับ หวังว่าจะชอบกันนะครับ