โปสเตอร์หนัง

ไม่ว่าการจะทำสิ่งใด ทุกอย่างก็ต้องมีการควบคุมกำกับดูแลกันทั้งนั้นใช่มั้ยหล่ะครับ และซึ่งไม่มีข้อยกเว้นให้กับวงการ “โฆษณาหรือภาพยนตร์” เช่นกันและขนาด “โปสเตอร์หนัง” ก็ต้องมีการควบคุมด้วยเช่นกันครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ “กฏหมายเกี่ยวกับโปสเตอร์หนัง” กันคร่าวๆ ครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเลยดีกว่า!!!

องค์ประกอบของโปสเตอร์หนัง

ความสมดุลกับการจัดวาง Layout การออกแบบโปสเตอร์ที่ดี ต้องไปในทิศทางเดียวกัน การวางตัวอักษร การวางรูป ไม่ใหญ่ ไม่เล็กจนเกินไป แบ่งเป็นสัดส่วนได้อย่างชัดเจน ต้องมีความสมดุลที่ทำให้คนเห็น หรือคนอ่าน ดูข้อมูลได้ง่าย ลื่นไหล สบายตา

องค์ประกอบสำคัญๆ ครบถ้วน โปสเตอร์ที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ พาดหัว เปรียบเสมือนชื่อโปสเตอร์ พาดหัวรอง คือส่วนขยายของพาดหัว ข้อมูลรายละเอียด คือรายละเอียดของโปสเตอร์ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรและวันเวลาของกิจกรรม ภาพประกอบ คือส่วนตกแต่งให้โปสเตอร์มีความน่าใจมากยิ่งขึ้น ข้อมูลติดต่อ มีไว้สำหรับคนที่สนใจเข้ากิจกรรมสามารถติดต่อผู้ดูแลได้

โทนสีของโปสเตอร์ การใช้โทนสีในการออกแบบโปสเตอร์ เราต้องคำนึงถึงองค์กรและชนิดของสินค้าของเราว่าภาพลักษณ์ของบริษัทเราเป็นเช่นไร เช่น บริษัทเราเป็นโรงเรียนสอนภาษา โปสเตอร์ของเราก็ควรใช้โทนสีที่เรียบง่ายไม่ฉูดฉาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น ข้อควรระวังก็คือสีของตัวอักษรและสีของพื้นหลังควรใช้สีที่ตรงข้ามกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะสามารถอ่านโปสเตอร์ของเราได้

มีจุดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นการสร้างจุดศูนย์กลางที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าและทำให้ผู้รับสารรับรู้ข้อมูลของเราได้อย่างครบถ้วน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การพาดหัวจะเป็นจุดสำคัญที่ว่านี้ในการออกแบบโปสเตอร์ เปรียบเสมือนหัวกับข้อหลักที่ช่วยให้ผู้ที่เห็นโปสเตอร์รับรู้ได้ทันทีว่าโปสเตอร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

ขนาดของตัวอักษร เป็นสิ่งที่ทำให้จุดเด่นของโปสเตอร์เด่นชัดมากยิ่งขึ้นโดยการใช้ขนาดของตัวอักษรที่ต่างกันเพื่อเรียงลำดับใจความสำคัญของข้อมูล เช่น พาดหัวหลักจะใช้ขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ที่สุดเพื่อเน้นว่าโปสเตอร์นี่มีวัตถุประสงค์อะไร ต่อมาคือพาดหัวรองซึ่งสำคัญรองลงมา จะใช้ตัวอักษรขนาดกลางเพื่อไม่ให้เด่นชัดจนเกินไปโดยพาดหัวรองจะมีหน้าที่ช่วยขยายความของพาดหัวหลัก สุดท้ายก็คือรายละเอียดของข้อมูลที่จะใช้ตัวอักษรขนาดเล็กเนื่องจากมีความยาวมากที่สุดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค้ารับข่าวสารที่ครบถ้วน

แล้วกฏหมายที่เกี่ยวกับโปสเตอร์มีเนื้อหาอย่างไรบ้าง?

ในเบื้องต้นนั้น…กฏหมายที่เกี่ยวกับเรื่องของโปสเตอร์ก็คงจะหนีไม่พ้น “กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค” อย่างแน่นอนครับ ซึ่งกฏหมายข้อดีจะตรงกับ “มาตรา ๒๒”  ซึ่งว่าด้วยการโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ เป็นต้นครับ

●มาตรา ๒๓  การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

●มาตรา ๒๔  ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าสินค้าใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคและคณะกรรมการว่าด้วยฉลากได้กำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามฉลาก

●มาตรา ๒๗  ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ (๑) หรือมาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(๑) ให้แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา
  (๒) ห้ามการใช้ข้อความบางอย่างที่ปรากฏในการโฆษณา
(๓) ห้ามการโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีการนั้นในการโฆษณา
(๔) ให้โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนด ซึ่งโปสเตอร์หนังจะเกี่ยวข้อกับนี้มากที่สุดเลยหล่ะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “กฏหมายเกี่ยวกับโปสเตอร์หนัง” ที่ครอบคลุมไปเรื่ององค์ประกอบของโพสเตอร์ที่เราได้นำมาฝากกัน หวังว่าจะชอบและเป็นประโยชน์มากๆ สำหรับทุกท่านนะครับ